เมนู

สา. จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ มมังการและ
มานานุสัยได้เด็ดขาดเป็นเวลานานมาแล้ว ฉะนั้น ท่านพระอุปเสนะจึงไม่
มีความตรึกอย่างนั้น.
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นสู่เตียง
นำไปภายนอก กายของท่านพระอุปเสนะเรี่ยราดประดุจกำแกลบในที่
นั้นเอง ฉะนั้น.
จบ อุปเสนสูตรที่ 7

อรรถกถาอุปเสนอาสีวิสสูตรที่ 7


ในอุปเสนอาสีวิสสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สีตวเน ได้แก่ในป่าของป่าช้ามีชื่ออย่างนั้น. บทว่า
ิสปฺปโสณฺฑิกปพฺภาเร ได้แก่ที่เงื้อมเขามีชื่ออย่างนั้น เพราะเหมือนกัน
พังพานงู. บทว่า อุปเสนสฺส ได้แก่ท่านอุปเสนะผู้เป็นน้องชายของ
พระธรรมเสนาบดี. บทว่า อาสีวิโส ปติโต โหติ ความว่า เล่ากัน
มาว่า พระเถระเสร็จภัตกิจแล้ว ถือมหาจีวร ถูกลมอ่อนๆ ทางช่องหน้าต่าง
ที่ร่มเงาถ้ำ รำเพยพัด นั่งทำสูจิกรรมผ้านุ่ง 2 ชั้น. ขณะนั้น ลูกอสรพิษ
เลื้อยเล่นอยู่บนหลังคาถ้ำ ลูกงูเหล่านั้น ตัวหนึ่งตกลงมาถูกจะงอยบ่า
พระเถระ. พระเถระถูกพิษเข้า ฉะนั้นพิษของงูนั้นจึงซาบซ่านไปในกาย
ของพระเถระ เหมือนเปลวประทีปลามไปตามไส้ตะเกียง. พระเถระ
ทราบว่าพิษแล่นมาดังนั้น พิษนั้นพอตกลงเท่านั้นแล่นไปตามกำหนด ก็จริง
ถึงอย่างนั้น ท่านจึงใช้พลังฤทธิ์ของตนอธิษฐานว่า ขออัตตภาพนี้จงอย่า

พินาศในถ้ำ ดังนี้แล้วเรียกภิกษุทั้งหลายมา. บทว่า ปุรายํ กาโย อิเธว
วิถีรติ
ความว่า พวกท่านจงนำกายนั้นออกข้างนอกชั่วเวลาที่ยังไม่กระจัด
กระจาย. บทว่า อญฺญถตฺตํ แปลว่า เป็นอย่างอื่น. บทว่า อินฺทฺริยานํ
วิปริณามํ
ได้แก่ภาวะคืออินทรีย์มีจักขุนทรีย์และโสตินทรีย์เป็นต้นละปกติ
ไป บทว่า ตตฺเถว วิกิริ ความว่า กระจัดกระจายบนเตียงน้อยนั่นเอง
ในที่ที่นำออกมาตั้งไว้ภายนอก.
จบ อรรถกถาอุปเสนสูตรที่ 7

8. อุปวาณสูตร


ว่าด้วยธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง


[78] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้
บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้
บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้า
มาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า.
[79] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปวาณะ ก็ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วรู้เสวยรูป รู้เสวยความกำหนัดในรูป
แล้วรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัด
ในรูปในภายใน อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วรู้เสวยรูป รู้เสวยความ